Flapping Purple Butterfly

Diary 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 08.30 - 12.30  น.

ประโยชน์ที่ได้รับ

     วันนี้มีเพื่อนนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะบอกเทคนิกการสอน โดยกระบวนการที่ 1 ให้ครูลองมาเป็นเด็ก เพื่อให้เข้าใจว่าเด็กเบื่อหรือไม่ในการเรียนการสอน ครูจะต้องตั้งคำถามเพื่อให้เด็กตอบโดยไม่มีถูกผิด ให้คิดวิเคราะห์ฝึกสื่อสารที่จะเล่าจากที่เด็กสังเกต ในด้านร่างกายจะได้จากการลงมือปฏิบัติ มีการใช้ภาษาแสดงออก กระบวนการที่ 2 คือ การทดลองสีดำ
ตั้งประเด็น - ว่าทุกสีรวมกันทำให้เกิดสีดำ
สืบเสาะหาว่า - เป็นสีดำ เมื่อสีดำโดนน้ำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
ตั้งสมมติฐาน - อาจมีการเปลี่ยนแปลง สีแดง สีเขียว เกิดขึ้น
ทดลอง - น้ำซึมใส่ทิชชูเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสีต่างๆ
การเปรียบเทียบ
สรุป - เป็นไปตามสมมติฐาน


และดิฉันก็ได้นำเสนองานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
     จากนั้นอาจารย์ให้สรุปงาน สื่อเข้ามุม สื่อของเล่น การทดลอง ว่าแต่ละคนแต่ละคู่ทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร  และจับกลุ่มใหม่ 4 คน ทำอาหาร โดย 1.จะต้องเลือกเรื่องที่สัมพันธ์กับหน่วย ที่เด็กสามารถทำได้ 2.บอกสัดส่วนของเครื่องปรุง 3.ขั้นตอนในการทำ 4.แปลงสัดส่วนเมื่อนำไปทำกับเด็ก
ขั้นตอน - ตั้งประเด็นปัญหา
             - ตั้งสมมติฐาน
เมื่อได้เรื่องแล้วจึงทำตามนี้
ขั้นที่ 1 เขียนสัดส่วนก่อน ต้องมีสัดส่วนในการทำให้เด็กเห็น
ขั้นที่ 2 ให้เด็กตักตามสัดส่วน
ขั้นที่ 3 เมื่อเด็กแต่ละคนตักสัดส่วนแล้วจึงนำมารวมกันแล้วใส่ในถ้วยใหญ่
ขั้นที่ 4 ตกแต่งภาชนะที่ใส่

โดยกลุ่มของพวกเราคิดกันว่าจะทำไอศกรีมเขย่า

วัตถุดิบ

1. นมจืด
2. นมข้นหวาน
3. ช็อกโกแลตตกแต่ง
4. เยลลี่
5. ท็อปปิ้งเรนโบว์
6. กล้วยหอม
7. โอโจ้แท่ง
8. น้ำแข็ง
9. เกลือ

อุุปกรณ์

1. กะละมังสแตนเลส
2. ที่คนส่วนผสม
3. ช้อนโต๊ะ
4. ถ้วยตวง
5. ซินล็อกขนาดเล็กและขนาดใหญ่
6. ถ้วย


ขั้นตอน
1. ให้เด็กๆตักนมจืดใส่ถ้วย 1 ถ้วยตวง ของตนเอง
2. ตักนมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะ
3. ให้เด็กๆนำนมจืดและนมข้นหวานมาเทรวมกันในกะละมังสแตนเลส พร้อมทั้งคนส่วนผสมให้เข้ากันใส่เกลือเล็กน้อย
4. หลังจากนั้นให้เด็กๆเทลงในถุงซิปล็อกขนาดเล็ก
5. ใส่น้ำแข็งและเกลือลงในถุงซิปล็อกขนาดใหญ่พร้อมเขย่าให้เข้ากัน
6.นำนมที่ใส่ในถุงซอปล็อกขนาดเล็ก ใส่ลงไปในถุงซิปล็อกขนาดใหญ่
7. หลังจากนั้นเขย่าถุงซิปล็อกขนาดใหญ่ประมาณ 5 นาที จนนมแข็งตัวเป็นไอศกรีม
8. ใช้ช้อนตักไอศกรีมมาใส่ถ้วยของแต่ละคนพร้อมตกแต่ง







สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

   การจัดการทำอาหารเพื่อให้เด็กสังเกตและได้ลงมือปฏิบัติในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้อาหารเปลี่ยนแปลงไปจากรูปเดิม หรืออาจจะเปลี่ยนสถานะใหม่ ทำให้เด็กได้ประสบการณ์ความรู้ใหม่หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม


ประเมิน

     - อาจารย์ : อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของสื่อการสอน + วิจัย ที่นำเสนอเพื่อให้เพื่อนได้เข้าใจ
     - เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและช่วยกันคิดในการทำอาหารของแต่ละกลุ่ม
     - ตัวเอง : มีความตื่นเต้นในการนำเสนองานวิจัย และช่วยเพื่อนในกลุ่มคิดอาหารที่จะทำ
     - สภาพแวดล้อม : ภายในห้องเงียบ และต้องใจช่วยกันทำงาน


Vocabulary (คำศัพท์)

Analytical thinking              คิดวิเคราะห์
Communicate                       สื่อสาร
Seep                                      ซึม
Ratio                                     สัดส่วน
Container                              ภาชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะศึกษาศาสตร์ แนวการสอน ( Course Syllabus ) ชื่อวิชา (ภาษาไทย)                   การจัดประสบการณ์ทางวิท...