วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลา 08.30 - 12.30 น.
ประโยชน์ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้ลงวีดิโอการทดลองครั้งก่อนมาเปิดให้เพื่อนๆดูและให้ช่วยกันคิดในการตั้งสมมติฐานในการทดลองว่าควรตั้งอย่างไรบ้างเพื่อให้เด็กได้เกิดการคิดทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ และในการทดลองของเพื่อนขาดอะไรบ้าง และควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง
1.เรื่องทอร์นาโดในขวดน้ำ
2.การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3.สีเต้นระบำ
4.หมุดลอยน้ำ
5.การละลาย
6.การจมการลอยของไข่
7.การทดลองปั๊มขวดและลิฟต์เทียน
8.การละลายของน้ำตาล
9.อินดิเคเตอร์จากพืช
10.แสงเลี้ยวเบน
- การสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อหาข้อมูลและเก็บข้อมูล
- บางอย่างจากการทดลองไม่สามารถตั้งเป็นประเด็นปัญหาได้ ก็สามารถใช้เป็นความอยากรู้ได้
- สามารถนำคณิตศาสตร์มาบูรณาการในการทดลองได้ เช่น สัดส่วนของอุปกรณ์ในการทดลอง
ตอนบ่ายทำอาหาร
เรียนรู้เรื่องของ STEM
STEM” คืออะไร
•เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
•นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
•เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
•“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
•การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
•ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น
STEM
•Science
•Technology
•Engineering
•Mathematics
- Science (วิทยาศาสตร์)
•การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
•เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
- Technology (เทคโนโลยี)
•วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
•สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
•ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร,
กบเหลาดินสอ เป็นต้น
- Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
•ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
•กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
•ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
- Mathematic (คณิตศาสตร์)
•วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
•เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ
รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
•ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
•เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่
ทุกเวลาอีกด้วย
•การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
•เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
- Technology (เทคโนโลยี)
•วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
•สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
•ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร,
กบเหลาดินสอ เป็นต้น
- Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
•ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
•กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
•ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
- Mathematic (คณิตศาสตร์)
•วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
•เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ
รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
•ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
•เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่
ทุกเวลาอีกด้วย
เมนูวันนี้คือ ทำเกี๊ยวทอด
- เตรียมอุปกรณ์การทำ
- วัสดุอุปกรณที่ใช้
1. กระทะไฟฟ้า
2. ตะหลิว
3. ที่คีบอาหาร
4. น้ำมัน
5. ทิชชู่ซับน้ำมัน
6. ถ้วย
7 ช้อน
8. มีด
9. เขียง
- วัตถุดิบ
1. หมูปรุงรส
2. ต้นหอม-ผักชี
3. ไส้กรอก
4. ปูอัด
5. แครอท
6. วุ้นเส้น
7. แผ่นเกี๊ยว
- ทำตามที่วางแผน
1. จับกลุ่ม 4-5 คน วาดรูปเกี๊ยวที่ตัวเองอยากพับตามจินตนาการ เขียนส่วนผสมของไส้เกี๊ยว และวิธีทำ
2. เลือกแบบในกลุ่มที่วาดมา 1 แผ่น เขียนสัดส่วนต่อกลุ่ม และต่อ 1 คน
3. ออกไปตักสัดส่วนตามที่วางแผนไว้ และผสมสัดส่วนให้เข้ากัน
3. ช่วยกันพับแผ่นเกี๊ยวตามแบบที่วาดไว้
- การทอดเกี๊ยว
- เมื่อเกี๊ยวยังไม่สุก ไม่สามารถรับประทานได้ ครูจะตั้งสมมติฐานให้เด็กคิดว่า เอ๊...แล้วจะทำอย่างไรนะเกี๊ยวของเราถึงจะรับประทานได้
เด็กก็จะตอบประมาณว่า ต้องทอด/ต้ม/นึ่ง/ย่าง ฯลฯ
- ให้เด็กดูอุปกรณ์ตรงหน้าที่ครูเตรียมมา คือวันนี้เราจะมาทอดเกี๊ยวกัน ให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อนำเกี๊ยวลงไปทอดว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง (ครูควบคุมไฟในการทอดด้วยนะคะ เพราะถ้าไฟแรงไปอาจทำให้เกี๊ยวไหม้ได้)
- ให้เด็กๆนำเกี๊ยวลงไปทอดทีละคน
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- เมื่อสุกแล้วตักขึ้น
- ตกแต่งจานให้สวยงาม
ไฟแรงไปนิดเลยทำให้เกือบไหม้ แต่รับประทานได้ อร่อยเลย ^^
STEM จากการทอดเกี๊ยวคือ
•Science วิทยาศาสตร์ จากการเปลี่ยนแปลงสถานะของแผ่นเกี๊ยว ที่ผ่านการทอดเพื่อทำให้สุก
•Technology เทคโนโลยี จากกระทะไฟฟ้า อุปกรณ์การทำ
•Engineering วิศวกรรมศาสตร์ จากการออกแบบการพับแผ่นเกี๊ยว การตกแต่งจาน
•Mathematics คณิตศาสตร์ จากการวัดสัดส่วนของไส้เกี๊ยว
•Science วิทยาศาสตร์ จากการเปลี่ยนแปลงสถานะของแผ่นเกี๊ยว ที่ผ่านการทอดเพื่อทำให้สุก
•Technology เทคโนโลยี จากกระทะไฟฟ้า อุปกรณ์การทำ
•Engineering วิศวกรรมศาสตร์ จากการออกแบบการพับแผ่นเกี๊ยว การตกแต่งจาน
•Mathematics คณิตศาสตร์ จากการวัดสัดส่วนของไส้เกี๊ยว
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนรู้เรื่องของ STEM จากการประกอบอาหาร เป็นการช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจากการทดลอง การลงมือปฏิบัติจริง และการใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำได้เด็กได้ใช้ความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนานในการทำและอยากที่จะเรียนรู้ในส่วนของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น
ประเมิน
- อาจารย์ : อาจารย์ช่วยกระตุ้นความคิดในการตั้งสมมติฐาน การลงมือ เพื่อให้คิดเป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ
- เพื่อน : ช่วนกันเตรียมอุปกรณ์มาประกอบอาหาร ช่วนกันวางแผนการออกแบบ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ไปล้างและทำความสะอาดห้องเรียนให้สะอาด
- ตัวเอง : ช่วยเพื่อนคิดและวางแผน ช่วยเพื่อนเก็บอุปกรณ์ไปล้าง และทำความสะอาดห้อง
- สภาพแวดล้อม : ไม่ค่อยเอื้อต่อการประกอบอาหาร
Vocabulary (คำศัพท์)
Fried ทอด
Electric pan กระทะไฟฟ้า
Ripening ทำให้สุก
Spade of frying pan ตะหลิว
Fire control ควบคุมไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น