Flapping Purple Butterfly

Diary 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2560 เวลา 08.30 - 12.30  น.

ประโยชน์ที่ได้รับ

     วันนี้มีเพื่อนนำเสนองานวิจัย เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยสิ่งที่จะวัดมี 4 ตัวคือ มิติสัมพันธ์ จำแนกประเภท การสังเกต และการลงความเห็น สรุป ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่าง มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับที่ดี อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้เด็กเกิดความหลากหลายแล้วนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Yupaporn_C.pdf


- ทำกิจกรรมภาพขยับ
   ขั้นตอนการทำ
   1. กระดาษA4 พับครึ่งตามแนวยาว ตัดแบ่งตามรอยใช้ 1 แผ่น


   2. พับครึ่งกระดาษด้านหน้าให้สั้นกว่าด้านหลัง



   3. วาดภาพลงบนกระดาษ

 

                       หน้า 1                                                                                                   หน้า 2                                                 

   4. เมื่อทำเสร็จแล้วจะออกมาเป็นแบบวีดิโอด้านล่าง



- กิจกรรมร้องเพลงจากคำศัพย์ + แปล
  One หนึ่ง ถึง To You ท่าน หวาน Sweet
Sit นั่ง Yong หนุ่ม Room ห้อง Long ยาว
ขาว White ไกล Far ตา Eye ใน In
กิน Eat This นี้ Tea น้ำชา มา Come
Arm แขน Hand มือ ถือ Hold
โยน Throw Go ไป ไม่ Not
Pot หม้อ Water น้ำ ดำ Black
แบก Carry Tree ต้นไม้ My ของฉัน

- เนื้อหาการเรียน
1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Mettod)
     1. Plan Your Experiment
     2. Experiment
     3. Collect and Record Data
     4. Come to a Conclusion
     5. Research Your Topic
     6. Think of an Idea
     เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แสวงหาความรู้ แก้ปัญหา โดยมีขั้นตอนดังนี้


2. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Seientific attitude)
     คือแนวคิดหรือความรู้สึกของบุคคลที่มีแนวโน้มแสดงพฤติกรรม ต่อไปนี้
     - ความอยากรู้อยากเห็น
     - มีความเพียรพยายาม
     - ความมีเหตุผล
     - ความซื่อสัตย์
     - ความมีระเบียบ รอบคอบ
     - ความใจกว้าง
     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะดังนี้
ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
       1. ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกตได้แก่ ใช้ตาดูรูปร่าง ใช้หูฟังเสียง ใช้ลิ้นชิมรส ใช้จมูกดมกลิ่น และใช้ผิวกายสัมผัสความร้อนเย็น การใช้ประสาทสัมผัสเหล่านี้จะใช้ทีละอย่างหรือหลายอย่างพร้อมกัน เพื่อรวบรวมข้อมูลก็ได้โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป เช่น
การสังเกตการเรียงตัวของหินดังภาพ


          1.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
                - หินแต่ละก้อนมีขนาดและรูปร่างต่างกัน
                - มีสีต่างกัน
                - ผิวขรุขระและแข็ง ฯลฯ
          1.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ
                - มีก้อนหินซ้อนกันจำนวน 11 ก้อน
                - ก้อนล่างสุดหนาประมาณ 5 ซม.
          1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
                - ถ้าเลื่อนตำแหน่งของก้อนที่ 3 นับจากล่าง ก็จะทำให้ก้อนด้านบนพังครืนลงมา ฯลฯ 
       2. ทักษะการวัด หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือวัดปริมาณของสิ่งของออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับเสมอ ในการวัดเพื่อหาปริมาณของสิ่งที่วัดต้องฝึกให้ผู้เรียนหาคำตอบ 4 ค่า คือ จะวัดอะไร วัดทำไม ใช้เครื่องมืออะไรวัด จะวัดได้อย่างไร ถ้านักเรียนตอบได้จะแสดงความเป็นเหตุเป็นผลกัน
       3. ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ หมายถึง การแบ่งพวกหรือการเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ โดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการจำแนกประเภท ซึ่งอาจใช้เกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แล้วแต่ผู้เรียนจะใช้เกณฑ์ใด
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทมี 3 อย่างได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่าง ความสัมพันธ์
       4. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ เวลา ฯลฯ
           การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส เช่น การหารูปร่างของวัตถุ โดยสังเกตจากเงาของวัตถุ เมื่อให้แสงตกกระทบวัตถุในมุมต่างๆกัน ฯลฯ
           การหาความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเวลา เช่น การหาความสัมพันธ์ระหว่างจังหวะการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกากับจังหวะการเต้นของชีพจร ฯลฯ
           การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา เช่น การหาตำแหน่งของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ฯลฯ
       5. ทักษะการคำนวณและใช้จำนวน หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขที่ได้จากการนับ และตัวเลขที่ได้จากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น โดยเกิดการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง และสามารถบอกวิธีการคำนวณ แสดงวิธีการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์
       6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจความหมายได้ดีขึ้น
       7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การชำนาญในการอธิบายสิ่งที่ได้จากการสังเกตเกี่ยวกับวัตถุหรือเหตุการณ์เฉพาะอย่าง
            - สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการสังเกต และการลงความคิดเห็น
            - แปลความหมายข้อมูลที่บันทึกไว้หรือได้มาทางอ้อมแล้วนำมาทำนายเหตุการณ์จากข้อมูล
       8. ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ได้ศึกษานานแล้ว หรืออาศัยประสบการณ์ซ้ำๆ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เราจะต้องคำนึงถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดความสงสัย ตั้งประเด็นปัญหาต่างๆ จนถึงทดลอง เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง


ประเมิน

     - อาจารย์ : สอนเข้าใจ ยกตัวอย่างที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย
     - เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง แต่อาจมีเสียงดังบ้าง
     - ตัวเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และฟังอาจารย์ผู้สอน ตั้งใจทำงานของตนเอง
     - สภาพแวดล้อม : แอร์เย็นไปนิดหน่อย


Vocabulary (คำศัพท์)

Various                       หลากหลาย
Solving problems       แก้ปัญหา
Trends                        แนวโน้ม
Overlap                      ซ้อนกัน
Dimension                  มิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะศึกษาศาสตร์ แนวการสอน ( Course Syllabus ) ชื่อวิชา (ภาษาไทย)                   การจัดประสบการณ์ทางวิท...