สรุปวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
ผู้วิจัย
ชณิดาภา กุลสุวรรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2558
- ความมุ่งหมายของการวิจัย1. เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ กำหนดเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
4. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
- ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากร : ประชาการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ประจำปีการศึกษา 2557 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 4 ห้องเรียน จำนวน 163 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยประจำปีการศึกษา 2557 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Samling) เนื่องจากเด็กที่เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนผลการเรียนรู้ด้านการคิดอยู่ในระดับต่ำ
2. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น : ได้แก่ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
ตัวแปรตาม : ได้แก่
1. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
2. พฤติกรรมการเรียนรู้จากการจัดประสบการณ์แบบโครงการของเด็กปฐมวัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัยมี 3 ชนิด คือ
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 แผน
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 15 ข้อ
3. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 5 ด้าน ได้แก่
1) การสนทนาตอบคำถาม
2) ทักษะการจำแนก
3) การแสดงความคิดเห็น
4) การเข้าร่วมกิจกรรมการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5) การสนทนาตอบคำถาม
- สรุปผลการวิจัย
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพ 82.04/81.79 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับร้อยละ 76.17
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญ
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งประกอบด้วย การร่วมสนทนาตอบคำถาม การบอกเล่าพูดแสดงความคิดเห็น และการสื่อความหมายกับผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น