Flapping Purple Butterfly

Diary 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 08.30 - 12.30  น.

ประโยชน์ที่ได้รับ

     วันนี้มีเพื่อนนำเสนองานวิจัยวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
   3 ห่วง คือ ความพอประมาณ การมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน(การวางแผน)
   2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม
   เพื่อให้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น คือ ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
   การเปลี่ยนแปลง (Change)
   ความแตกต่าง (Veriety)
   การปรับตัว (Adjustment)
   การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturity)
   ความสมดุลย์ (Equilibrium)

* องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
1. องค์ประกอบด้านความรู้ (เนื้อหา)
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการดังนี้
   - จะต้องเป็นความรู้ของธรรมชาติ
   - จะต้องได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
   - จะต้องเป็นความรู้ที่ผ่านการทดสอบ หรือยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท
   1. ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น
       1.1 น้ำตาลละลายในน้ำได้
       1.2 น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
       1.3 พืชที่ไม่ได้รับแสง ใบและต้นจะมีสีขาวซีด
   2. มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept)
       2.1 แมวเป็นสัตว์มี 4 ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม
       2.2 แมลง คือ สัตว์ที่มี 6 ขา และลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
   3. หลักการ (Principle) เช่น
       3.1 ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
       3.2 ขั้วเเม่เหล็กเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วเเม่เหล็กต่างกันจะดูดกัน
   4. กฎ (Law) เช่น
       4.1 น้ำเมื่อเย็นลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของมันจะมากขึ้น
       4.2 วัตถุจะเคลื่อนที่ หรือหยุดนิ่ง หรือจะเปลี่ยนแปลงความเร็ว
   5. ทฤษฎี (Theory)
       ดังนั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด สมมติฐาน กฎหรือหลักการ และทฤษฎี ซึ่งแต่ละองค์ประกอบเป็นความรู้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นความจริงและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
       สำหรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ควรจะเป็นความรู้เบื้องต้นง่ายๆในแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากการเสาะแสวงหาด้วยตนเอง โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการให้ให้ความรู้เป็นเพียงข้อเท็จจริง โดยไม่ใช่วิธีการบอกเด็กแต่เพียงอย่างเดียว
วิธีการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มีดังนี้ คือ
- ขั้นสังเกต (Observation)
- ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
- ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
- ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
- ขั้นสรุป (Conclusion)
2. องค์ประกอบด้านเจตคติ
   นักวิทยาศาสตร์ ยึดมั่นในอิสระและเสรีภาพแห่งความคิด เคารพความจริงและข้อเท็จจริง อดทนรอคอยความรู้จากความพยายามของตน ทำงานด้วยความรัก โดยไม่คำนึงถึงว่าความรู้ที่ได้มานั้นจะเป็นประโยชน์ต่อใคร อะไร ที่ไหน ตนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาหรือไม่
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
- ความมีเหตุผล
- ความซื่อสัตย์
- ความมีระเบียบและรอบคอบ
- ความใจกว้าง
3. องค์ประกอบด้านกระบวนการ
   สมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science - AAAS) กำหนดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไว้ 13 ทักษะ ประกอบด้วยทักษะด้านพื้นฐาน (Basic science skills) 8 ทักษะ และทักษะขั้นผสม หรือบูรณาการ (Integrated science process skills) 5 ทักษะ ดังนี้
- ทักษะขั้นพื้นฐาน
   - ทักษะการสังเกต
   - ทักษะการวัด (วัดแล้วได้ปริมาณ)
   - ทักษะการคำนวณ
   - ทักษะการจำแนกประเภทหรือจัดประเภท (ก่อนจำแนกต้องมีเกณฑ์)
   - ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่าสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา
   - ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
   - ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
   - ทักษะการพยากรณ์
- ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
   - ทักษะการตั้งสมมติฐาน
   - ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
   - ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
   - ทักษะการทดลอง
   - ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การนำวิจัยมาเป็นแนวทางในการสอนเด็กๆเพื่อให้เด็กๆได้เข้าใจได้ง่ายเป็นไปตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และไม่รู้สึกกลัวกับการเรียนวิทยาศาสตร์
 

ประเมิน

     - อาจารย์ : อาจารย์อธิบายแต่ละหัวข้อเพื่อให้เข้าใจง่ายพร้อมยกตัวอย่าง
     - เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังและจดตาม
     - ตัวเอง : ตั้งใจฟังและจดตัวอย่างที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม
     - สภาพแวดล้อม : บรรยากาศในการเรียนนั่งเป็นรูปตัวยู เพื่อให่อาจารย์เห็นหน้าได้ชัด แล้วเราก็เห็นจอได้ชัดไม่บังกัน เห็นบริบทของเพื่อนๆในการเรียน


Vocabulary (คำศัพท์)

Philosophy                     ปรัชญา
Sufficient economy        เศรษฐกิจพอเพียง
Immunity                        ภูมิคุ้มกัน
Basic knowledge             ความรู้พื้นฐาน
Freedom                          เสรีภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะศึกษาศาสตร์ แนวการสอน ( Course Syllabus ) ชื่อวิชา (ภาษาไทย)                   การจัดประสบการณ์ทางวิท...